วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 9

แบบฝึกหัดบทที่9


แบบฝึกหัดบทที่ 9
1.             จงอธิบายแนวทางการใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีมาพอเข้าใจ
= แนว ทางการใช้สารสนเทศทางการบัญชี คือ การรายงาน การวิเคราะห์ต้นทุนต่างรายงานงบประมาณ เป็นต้นซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งของการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจภายใต้โซ่คุณค่า ขององค์การและเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการดำเนินงานและการตัดสินใจทางธุรกิจ ด้วย
2.             จงยกตัวอย่างผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์กรมาสัก 2 ตัวอย่าง
= ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีภายนอกองค์การ คือ ผู้ที่ทำการบัญชีในภาคเอกชนหรือห้างร้านต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้ดูแล
3.             หากท่านดำเนินธุรกิจร้านมินิมาร์ทแห่งหนึ่ง ท่านเลือกที่จะติดตั้งใช้งานระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือไม่ อย่างไร
= เลือก เนื่องจากสามรถเก็บข้อมูลได้ทั้งขั้นต้นและขั้นปลายอีกทั้งยังสามารถลดการ ใช้ปริมาณกระดาษได้เนื่องจากธุรกิจใช้ระบบการจัดเก็บเอกสารทาง อิเล็กทรอนิกส์และช่วยเพิ่มความรวดเร็วในด้านการรับส่งข้อมูล
4.             หาก ธุรกิจแห่งหนึ่งมีการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ได้รับการประกันความถูก ต้องของข้อมูล ท่านคิดว่าธุรกิจนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไร
= 1. ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรขาดทุนที่แท้จริง
2. ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3. เป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4. เป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5. ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6. ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
5.             ท่านคิดว่าเอกสารทางการบัญชีของระบบประมวลผลด้วยมือ และแฟ้มข้อมูลของระบบประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
= มี ความสัมพันธ์กัน คือ เป็นการทำบัญชีที่เหมือนกันแต่จะแตกต่างตรงที่ว่าการทำบัญชีด้วยระบบ คอมพิวเตอร์เป็นการนำระบบโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีมาใช้ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการทำให้ยุ่งยาก ซึ่งต่างกับการบันทึกบัญชีด้วยมือ

6.             เพราะเหตุใดรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานทางการเงิน
= เนื่อง จากในการลงบันทึกการบัญชีจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการซื้อขาย แลกเปลี่ยน เพราะฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวข้องกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะในการจัดทำบัญชี ธุรกิจจะต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบใน การซื้อขาย แลกเปลี่ยนกันเพื่อที่จะได้นำตัวเลขที่ได้มาทำการคำนวณภาษีได้อย่างถูกต้อง
7.             จงอธิบายแนวโน้มของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในอนาคต
= ใน อนาคตของระบบสารสนเทศทางการบัญชีอาจมีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในองค์การมาก ขึ้นเนื่องจากสะดวก รวดเร็วและยังสามารถป้องกันความผิดพลาดได้ด้วย
8.             หาก ธุรกิจมีการเสนองบการเงิน ซึ่งมีการนำเสนอข้อมูลด้านการวิเคราะห์อัตราส่วนเพิ่มเติมด้วยจะถือเป็น รายงานทางเงินหรือรายงานทางการบริหาร
= รายงานทางการบริหาร
9.             การเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจจะได้รับข้อมูลจากระบบงานใดบ้าง
= 1. ระบบสารสนเทศทางการผลิต
2. ระบบสารสนเทศทางการตลาด
3. ระบบสารสนเทศทางการเงิน
4. ระบบสารสนเทศทางการเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์
5. ผู้จัดการงานบัญชี
6. ผู้ใช้รายงาน
10.      เพราะเหตุใดธุรกิจจึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
= ทราบถึงข้อมูลภายในองค์การเพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปลงข้อมูลทางการบัญชีได้อย่างถูกต้อง



สรุปบทที่ 9

สรุปบทที่9 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

บทที่ 9 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
แนวคิดและความหมาย
Romney and Steinbart (2003, p.2) จำกัดความไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัท เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อ ให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้
1.             การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ
2.             การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ และการควบคุม
3.             การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2 ประเภท
ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในธุรกิจประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ
ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกธุรกิจหรือผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ
การบัญชี
1. ความหมาย
                เอฟเอเอสบี (FASB, อ้างถึงใน พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพร เชิงเอี่ยม , 2545,  หน้า 5) ระบุว่า การบัญชี คือ ระบบสารสนเทศระบบหนึ่ง มีหน้าที่เก็บรวบรวม บันทึกและจัดเก็บรายการค้าและเหตุการณ์ทางธุรกิจต่างๆ เพื่อใช้เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้น พร้อมมีการนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ
                จากความหมายข้างต้นการบัญชี คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4 ขั้นตอนดังนี้
                ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน
                ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย
                ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบการเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง
                ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่ เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ
2. การจำแนกประเภท
                สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น 2 หมวดคือ
                2.1 การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฎจักรการบัญชี มีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่ การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้า ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่าน รายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภท จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลา บัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภท หลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้า บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชี
2.2 การบัญชีบริหาร คือ การนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตาม ความต้องการของผู้ใช้ กำหนดรูปแบบของรายงานไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงาน หรือผู้บริหารระดับต่างๆ ขององค์การโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงาน
3. หลักการบัญชี คือ มีการนำเสนอสารสนเทศทางการที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอม รับอย่างกว้างขวางของผู้ใช้งบการเงิน ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและ มีความสอดคล้องกับผลักบัญชีที่รับรองทั่วไป สามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ดังนี้
                3.1 หลักการดำรงอยู่ของกิจการ
                3.2  หลักความเป็นหน่วยงานของกิจการ
                3.3 หลักงวดเวลาบัญชี
                3.4 หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น 5 หมวดดังนี้
                                3.4.1 สินทรัพย์ หมายถึงทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของธุรกิจและสามารถนำไปใช้ในอนาคตสินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร
                                3.4.2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีต มีสัญญาว่าจะมีการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต
                                3.4.3 ส่วน ของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือ ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออก แล้ว
                                3.4.4 รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชี รวมถึงรายได้กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ อาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
                                3.4.5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลางวดเวลาบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจาก กิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้
3.5 หลักการบัญชีคู่ คือ การบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของ รายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึง การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทคือ
3.5.1 ด้านเดบิต
3.5.2 ด้านเครดิต
                3.6 หลักการใช้หน่วยเงินตรา หน่วยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการและยังใช้ เป็นหน่วยวัดราคาอีกด้วย ดังนั้น หน่วยเงินตราจะแสดงถึงตัวเลขที่เป็นตัวเลขเพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานและการ เปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจในประเทศไทยจะใช้หน่วยเงินบาทและสตางค์
                3.7 หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม คือ เอกสารขั้นต้นเช่น ใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานก่อนการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นจริง
                3.8 หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ
                                3.8.1 เกณฑ์เงินสด รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจกาหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ
                                3.8.2 เกณฑ์คงค้าง  ราย ได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่ มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้
                                1.การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น
                                2. การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในเดือนมีนาคม
                3.9 หลัก การจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย การนำรายได้ที่เกิดขึ้นของงวดเวลาบัญชีนั้นทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ก่อ ให้เกิดรายได้นั้นจึงจะได้ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง
                3.10 หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์  มีการประมาณอายุใช้งานของสินทรัพย์ตลอดจนมีการตัดจ่ายต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏในกำไรขาดทุน
สารสนเทศทางการบัญชี
1.แนวคิด
                สารสนเทศ ทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากร และในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการ เงิน ดังนี้
1.             ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ
2.             ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
3.             ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
4.             ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
5.             ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
6.             ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
2. การจำแนกประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
                2.1 เอกสารทางการบัญชี คือ หลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้น ตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึก ข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
                                2.1.1 เอกสารขั้นต้น เอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า
                                2.1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือ เอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ
                                2.1.3 บัญชีแยกประเภท เอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง
                                2.1.4 งบทดลอง เอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท
                2.2 รายงานทางการเงิน คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงินแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
                                2.2.1 งบการเงิน รายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการแบ่งได้ดังนี้
                                1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ
                                2. งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ
                                3. งบกระแสเงินสด งบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด
                                4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ
                                5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย 3 ส่วนดังนี้
                                1. เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน
                                2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละหัวข้อบัญชี
                                3. ข้อมูลส่วนอื่น
2.2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3 รูปแบบดังนี้
                                1.รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่กำหนดให้ธุรกิจบันทึกภาษีขายที่ธุรกิจพึงเรียกเก็บจากลูกค้า
                                2. รายงานภาษีซื้อ รายงานที่ธุรกิจบันทึกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า
                                3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบ แสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป
                2.3 รายงานทางการบริหาร คือ รายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ไดจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการ บริหารภายในองค์การ การกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยก ตัวอย่างได้ดังนี้
                2.3.1 รายงานด้านงบประมาณ
                2.3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
                2.3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
                Hall ระบุถึง การรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3 ระบบดังนี้
1.             ระบบประมวลผลธุรกรรม คือ ระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
2.             ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
3.             ระบบรายงานทางการบริหาร คือ ระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ
ระบบ ประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงิน ผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยว ข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสิ้น งวดวันออกบัญชี การประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนอง ความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นซ้ำๆ ในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นซ้ำของธุรกรรมนี้เรียกว่า วัฏจักรรายการค้า
                พลพธู ปิยวรรณ และสุภาพรรณ เชิงเอี่ยม จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น4 ประเภทคือ
1.1      วัฏจักรรายจ่าย ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1.             การสั่งซื้อละรับสินค้า
2.             การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย
3.             การซื้อสินทรัพย์ถาวร
4.             การจ่ายเงินเดือนพนักงาน
1.2      วัฏจักรรายได้ ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1.             การขายและจัดส่งสินค้า
2.             การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน
3.             การควบคุมลูกหนี้และรับชำระเงิน
1.3      วัฏจักร การแปลงสภาพ ที่ก่อให้เกิดการแปลงสภาพทรัพยากรวัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปตามคำสั่งผลิตของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ดังนี้
1.             การควบคุมวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือ
2.             การผลิต
3.             การคำนวณต้นทุนการผลิต
1.4      วัฏจักรการบริหารจัดการเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ของธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้
1.             การควบคุมเงินสด
2.             การควบคุมสินทรัพย์
2. ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ
                ลำดับ แรกของการเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจภายใต้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นต้อง จัดเตรียมผังบัญชีที่แสดงการจัดหมวดหมู่บัญชีภายใต้การดำเนินงานของธุรกิจ อย่างเป็นระเบียบกระบวนการของระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจอธิบายได้โดยใช้ แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่นๆโดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจาก ระบบสารสนเทศอื่น เพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สารสนเทศทางการบัญชีอธิบายได้ดังนี้
                1.ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
                2. ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
                3. ระบบสารสนเทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจ่ายเงินสดเข้าสู่ระบบ
                4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆของการบริหารทรัพยากรมนุษย์เข้าสู่ระบบ
5. ผู้จัดการงานจะส่งรายการปรับปรุงบัญชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
6. ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออกจากระบบ
3.ระบบบัญชีแยกประเภท
                3.1 การบันทึกรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนำเข้ารายการปรับปรุงบัญชี อาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศ อื่น
                3.2 การผ่านรายการบัญชี เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปเข้าสู่แยกประเภท
3.3 การ ปรับปรุงยอดคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลบัญชีเรียบร้อย ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบ ทดลองให้เป็นปัจจุบัน
3.4 การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
4. ระบบออกรายงานทางการเงิน
                4.1 การประมวลผลรายงาน
                4.2 การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
                4.3 การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
5. ระบบออกรายงานทางการบริหาร
                5.1 การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
                5.2 การประมวลผลรายงาน
                5.3 การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
1.โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟแวร์ถูกพัฒนาขึ้นใช้ เฉพาะกับงานด้านการบัญชีและจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล (ดีบีเอ็มเอส) เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลทางการบัญชีที่มีประสิทธิภาพ สามารถออกรายงานทางการเงินและการบริหารได้ตามความต้องการของผู้ใช้ ทั้งนี้จะต้องเน้นการควบคุมทางการบัญชีในส่วนการควบคุมเฉพาะระบบ ทั้งในด้านการควบคุมด้านการเข้าถึง การรับเข้า การประมวลผล และการส่งออกข้อมูล
                โปรแกรม สำเร็จรูปทางการบัญชี คือ โปรแกรมที่เน้นการบันทึก การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูล รายวัน การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่างๆผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือรายงานต่างๆมีคุณสมบัติ ดังนี้
1.             มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
2.             มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
3.             ความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
4.             มีความสามารถใช้การเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย แม่ข่าย
5.             เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
6.             มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
7.             มีการสร้างแฟ้มหลักรวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
8.             มีระบบการรับเข้าข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
9.             การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อมูลไดมากกว่าหนึ่งรายการ
10.      มีระบบป้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
11.      มีความยืดหยุ่นของการปิดงวดบัญชี
12.      มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
13.      การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
2. การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ต
                งบ การเงิน คือ รายงานทางการเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ การนำเสนองบการเงินทางอินเทอร์เน็ตเป็นวิถีทางหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการ เงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน
                คณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาไดพัฒนาฐานข้อมูลเอดการ์ขึ้น เพื่อใช้เก็บรวบรวมรายงานขึ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศสหรัฐอเมริกาในรูปแบบที่เป็นข้อความแต่ไม่สามารถนำรายงานทางการเงิน ของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากโครงสร้างงบการเงินต่างกันและ ถูกพัฒนาด้วยชุดคำสั่งที่ต่างกัน
3. โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร คือ โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย โดยทำการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยมี การใช้ฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียง ครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่างๆ
                ความ สามารถของโปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์การยุคปัจจุบัน นอกจากการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การด้วยฐานข้อมูลเดียวกัน ขยายขอบเขตไปถึงการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศระหว่างองค์การเข้าด้วยกันหรืออีก นัยหนึ่งคือ การเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายในองค์การเข้ากับการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศภายใน องค์การคู่ค้า



อ้างอิง : ผศ.รุจิจันทร์ พิริยะสงวนพงศ์    สารสนเทศทางธุรกิจ ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน